มาฆบูชา ลงนะหน้าทอง สืบสานกตัญญู หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก [เหนือฟ้าใต้บาดาล]

มาฆบูชา ลงนะหน้าทอง สืบสานกตัญญู หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก [เหนือฟ้าใต้บาดาล]


มาฆบูชา....เป็น คำย่อมาจากการบูชาในวัน “มาฆบูรมี” อันเป็นวันเพ็ญกลางเดือน 3 ตามปฏิทินของอินเดียซึ่งตรงกับไทยเช่นกัน แต่หากปีใดที่มีเดือนอธิกมาส (เดือน 8 สองครั้ง) จะเลื่อนเป็นขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 วันนี้.....คน อินเดียถือเป็น “ศิวราตรี” ซึ่งจักต้องมาพบปะกันเป็นประเพณี แต่ในทางพุทธศาสนาถือเป็นวันสำคัญด้วย พระอรหันต์ “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” 1,250 รูปมาประชุมกันเพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมาย ซึ่งถือว่า...มหัศจรรย์


ปฐมแห่งวัน มาฆบูชา...อีกนัยในความสำคัญ ด้วย พระพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังตรัสรู้มาเป็นเวลา 9 เดือน โอวาท ปาติโมกข์....เป็นคำสอนสำคัญ หรือหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ “หลักธรรม” ประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6....ซึ่งถือปฏิบัติมาเป็นระยะอันยาวนานถึง 26 ศตวรรษ... อีกหนึ่งใน ความสำคัญ จึงถือว่าวันนี้ เป็น ....วันพระธรรม (...ความสำคัญในทางพุทธศาสนาได้กำหนดวิสาขบูชาเป็น “วันพระพุทธ” และอาสาฬหบูชาคือ “วันพระสงฆ์”...)



พระธาตุฯศรีบางไทร ประจุอัฐิหลวงพ่อจง
สยาม ประเทศ...พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เริ่มกำหนดพิธีปฏิบัติกันในปี 2394 ทรง โปรดให้จัดในพระบรมมหาราชวัง ก่อน ซึ่งจะเสด็จฯประกอบพิธีกรรมด้วยพระองค์ทุกปี โดยมีการถวายพระราชกุศลในช่วงเช้าและถวายเพล... ช่วงค่ำทำวัตรจุดเทียนรอบพระอุโบสถ ...ล่วงถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีการยกเว้นบ้าง เนื่องจาก บางครั้งตรงกับช่วงเสด็จประพาสก็ทรงประกอบพิธี ที่นั่น เลย จากนั้นจึงแพร่หลายออกไปทั่วราชอาณาจักร... ต่อมาในปี 2549 ได้ กำหนด “มาฆบูชา” เป็น “วันกตัญญูแห่งชาติ” ด้วย.... มาฆบูชาปีนี้ (2557)....ตรงกับ 14 กุมภาพันธ์ พุทธสถานทุกแห่งต่างจัดกิจกุศลกันเพื่อสืบสานวัฒนธรรมและเป็นสิริมงคลแก่ผู้ ร่วมกิจ ส่วนจะยิ่งใหญ่ หรือแบบพอเพียงนั้นก็แล้วแต่ความเหมาะสม แต่ก็อยู่ในกรอบของประเพณีอันดีงาม วัดหน้าต่างนอก.....อำเภอบางไทร อยุธยา เป็นศาสนสถานที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง ซึ่งจัดพิธีกรรมในศาสนประเพณีมาอย่างต่อเนื่อง และปีนี้ก็เช่นกัน จัดหนักด้วยการเสริมพิธี “ลงมือทองคำและนะหน้าทอง” ให้กับผู้ที่เลื่อมใสศรัทธามาร่วมงาน....ด้วย


นางกวักโภคทรัพย์.

ว่า กันว่า....วัดหน้าต่างนอกเกิดขึ้นในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2300) โดยหลวงปู่เณร (ไม่มี “คำ” เติมท้าย) เป็นผู้สร้าง...โดยมีตำนานเกี่ยวกับความเป็นมาของชื่อถึง 2 ประเด็น หะ แรกว่า.....ช่วงสงครามพม่ายกทัพมาตั้งค่ายที่สีกุก ศรีอยุธยาจึงส่ง ทหารออกไปสอดแนมเป็นการเปิดหน้าต่าง ดูพฤติกรรม หน้าต่างในหมายถึงใกล้ริมแม่น้ำน้อย หน้าต่างนอก คือกลางทุ่ง คือที่วัดในปัจจุบัน อีกประเด็นคือ... สมัยโบราณพระสงฆ์จะเคร่งในการปฏิบัติกัมมัฏฐาน จึงมีการกล่าวว่า วัดหน้าต่างนอกเป็นสถานปฏิบัติธรรมอันเป็นอายตนะภายนอก คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ส่วน หน้าต่างใน เป็นวัดที่ปฏิบัติ อายตนะภายใน หมายถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ... วัดหน้าต่างนอก.....มีเจ้าอาวาสสืบต่อกันหลาย รูป ที่รู้จักกันเป็นอมตะคือ “หลวงพ่อจง พุทฺธ-สโร” ซึ่งเข้มขลังในทางวิชาอาคมและพลังแห่งพุทธคุณ (โด่งดังเมื่อครั้งสงครามเอเชียบูรพา ทำวัตถุมงคลแจกทหารไปรบ ซึ่งได้รับสมญานามว่า “ทหารผีอินโดจีน” เพราะโดนยิงล้มลงไปแล้วยังลุกขึ้นมาต่อสู้ได้) แม้จะละสังขารแล้วทุกวันนี้ก็ยังเป็นที่เลื่อมใส ในนาม “หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก”


เหรียญพระเหนือสยบราหู.

...หลัง จากนั้นมีเจ้าอาวาสเชื่อมต่ออีกหลายรูป กระทั่งถึง พระครูสมบูรณ์จริยธรรม “แม้น อาจารสัมปันโน” เป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี 2515จนถึงปัจจุบัน หลวงพ่อแม้น... อายุ 76 ปี 49 พรรษา ช่วงวัยหนุ่มได้ฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชากับหลวงปู่แดงวัดบางเตยนอก หลวงปู่ว่าน วัดบางเตยใน หลวงปู่ เทียน วัดโบสถ์ และเข้าสู่การอุปสมบทเมื่ออายุได้ 27 ปี ....เป็นศิษย์ก้นกุฏิหลวงพ่อจง ซึ่งก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาอาคมจนหมดพุงกระทั่งละสังขาร จาก นั้น...จึงได้ไปศึกษาไสยเวทต่อกับเกจิ อาจารย์อีกหลายท่าน เมื่อมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อแม้นได้สร้างพระเครื่อง - วัตถุมงคลหลายรุ่นตามตำราของหลวงพ่อจงผู้เป็นอาจารย์ อย่างเช่น ตะกรุดเสือมหาอำนาจ เสื้อยันต์ เบี้ยแก้ และอื่นๆ...ฯลฯ อีก ศาสตร์ที่ เข้มขลังแห่งอาคม....ซึ่ง หลวงพ่อแม้นได้รับการถ่ายทอดจากหลวงพ่อจงก่อนละสังขาร คือ “ลงนะหน้าทอง” อันเป็นพลัง เสน่ห์มหานิยมชั้นสูง เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา กับ “ลงวิชามือทอง” หรือมือโภคทรัพย์ ซึ่งคนที่ได้รับประสาทพิธีกรรมนี้จะ ทำมาหากินคล่องตัว หยิบจับอะไรก็เป็นเงินเป็นทองทั้งนั้น


ด้านหน้าวัดหน้าต่างนอก.

ด้วย... “มาฆบูชา” เป็น “วันกตัญญู” ในอีกหนึ่งของความสำคัญ “หลวงพ่อแม้น” จึงเอาศาสตร์ชิ้นสุดท้ายที่ได้จากครูมาสงเคราะห์ศิษยานุศิษย์ให้รับการ ถ่ายทอดพลังความเข้มขลังตามเจตนารมณ์ของอาจารย์....เป็นการ สำแดงในกตัญญู...!! และ...ในความกตัญญูนี้เช่นกัน ก็ได้ สร้างพระมหาเจดีย์ศรีบางไทรเพื่อบรรจุอัฐิธาตุหลวงพ่อ จง ผู้เป็นอาจารย์ ก็ถือว่าในการนี้อยู่ประกอบมงคลพิธี จึงนำ นางกวักโภคทรัพย์ เหรียญมหาเศรษฐี สีผึ้งจันทรเพ็ญ เหรียญพระเหนือสยบราหู เข้าร่วมในพิธีด้วยเพื่อเสริมพลังความเข้มขลังแห่ง...วัตถุมงคล จากนั้น....จึงจะ จ่ายแจกศิษยานุศิษย์และผู้เลื่อมใสร่วมเป็นฐาน ในความสำเร็จของ...องค์พระธาตุแห่งความกตัญญู...!!

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น