ป่าตุ้มดอน..ยกครูบาบุ๋นฯ อมตะสงฆ์รัตตัญญู 6 แผ่นดิน
ป่าตุ้มดอน..ยกครูบาบุ๋นฯ อมตะสงฆ์รัตตัญญู 6 แผ่นดิน
ครูบาออสวดบริกรรมคาถา.
วัดป่าตุ้มดอน ...ศาสนสถานเก่าแก่แห่งหนึ่งของ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
ปริมณฑล ของศาสนสถานแห่งนี้มีพื้นที่ไม่กว้างใหญ่นัก แต่ก็เป็น สถานที่สะสมโบราณวัตถุอันมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของชนชาวไทย ใหญ่ (เงี้ยว) ไว้หลายหลากประเภท ซึ่งมีอายุที่แตกต่างกัน....ถือเป็น พิพิธภัณฑ์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของท้องถิ่น
OOO
เบิกเนตรพระเศรษฐีมหามุณีโภคทรัพย์
มรดก ทางการศึกษาเหล่านี้ มีระบบการเก็บที่ไม่ค่อยปลอดภัยนัก หมิ่นเหม่ต่อการชำรุดปรักหักพัง ชาวบ้านป่าตุ้มเกิดความตระหนักในคุณค่า เลยมีแนวคิดในการดูแลรักษามิให้โบราณวัตถุเกิดการ ชำรุดผุกร่อนก่อนกำหนด ด้วยการหาอาคารจัดเก็บที่ปลอดภัยและเหมาะสม
เลยเป็นกิจเร่งด่วนในการ รวมพลังสร้างอาคารขึ้นรองรับการอนุรักษ์....โดย อุบาสกอนันต์ ร่มรื่นวานิชกิจ ยกธงเดินนำหน้าเป็นหัวเรือใหญ่ในการดำเนินงาน กระทั่ง “ศาลาอเนกประสงค์” ล่วงลุไปด้วยดีทันตามเวลาที่กำหนด
OOO
ครูบาบุ๋นเจ้าบุญจุ่ม สิริวิชโย
แค่ นั้นยังไม่พอ...เมื่อมีอาคารก็ควรมีองค์พระพุทธรูปเป็นประธาน จึงได้สร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องตามศิลปะล้านนาขนาดหน้าตัก 39 นิ้ว ประดิษฐาน โดยให้นามว่า....เศรษฐีมหามุณีโภคทรัพย์
กับการสร้าง องค์พระ “เศรษฐีมหามุณีโภคทรัพย์” ได้ดำเนินการ ตามตำราล้านนาทุกประการ แล้วจึงอัญเชิญมาวัดป่าตุ้มดอน ประกอบพิธีกรรมสุดท้าย ก่อนนำขึ้นประดิษฐานคือ “เบิกเนตร” ซึ่ง ครูบาอินเหลา จิตตสังวโร เจ้าอาวาสวัดป่าตุ้มดอน กับ พ่อหลวงชุมพล แก้วเจ็ก ผู้ใหญ่บ้านฯ ได้ลงความเห็นกัน...ว่า
...เพื่อเป็นการประหยัด เมื่อประกอบมงคลพิธีแล้ว ควรสร้างเหรียญหลวงปู่ครูบาบุ๋นเจ้าบุญจุ่ม สิริวิชโย เป็นที่ระลึกจ่ายแจกเข้าพิธีในวาระเดียวกัน เลย...ที่ประชุมก็ OK...!!
OOO
จุดเทียนชัยก่อนเข้าพิธีปลุกเสก
ครู บาบุ๋นเจ้าบุญจุ่ม สิริวิชโย อดีตเจ้าอาวาวัดป่าตุ้มดอน หรือวัดไตย (หมายถึงไทยใหญ่เป็นภาษาท้องถิ่นเดิม) ละสังขารเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2512 พรรษา 88 อายุ 108 ปี เกิดในกลุ่มชนชาติไทยใหญ่ สัญชาติพม่า เมื่อปี 2404 ที่เมืองเชียงตอง จังหวัดเชียงตุง ประเทศพม่า ซึ่งตรงกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งแผ่นดินสยาม
เข้าสู่ร่ม กาสาวพัสตร์ เป็นสามเณร ณ วัดตองกี ถึงปี 2422 จึงเดินทางเข้ามาเมืองไทยทางแม่ฮ่องสอน อยู่ในกลุ่มของไทยใหญ่ (เงี้ยว) ธุดงค์เรื่อยมาถึงเชียงดาวและเข้าพร้าว จำ วัดสันขวาง ซึ่งก็อยู่ในกลุ่มเงี้ยวมาโดยตลอด
OOO
เหรียญครูบาบุ๋นฯ
ครู บาปัญญา ปัญญสาโร เจ้าอาวาสวัดสันขวาง ได้ถ่ายทอดวิชาอาคมรวมทั้งภาษาล้านนาให้กับครูบาบุ๋นเจ้าฯ จนเป็นที่แตกฉานต่อมา เมื่อปี 2424 วัดป่าตุ้มดอนขาดเจ้าอาวาส ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ครูบาบุ๋นเจ้าฯ มาเป็นเจ้าอาวาส โดยนั่งช้างจากบ้านสันขวางมาบ้านตุ้มดอน
ตอนนั้นเป็นสามเณรโข่ง จึงเข้าสู่อุปสมบท ณ อุทกเขปสีมากลางหนองน้ำ (หนองห้า) ห่างจากวัดราวๆ ครึ่งกิโลเมตร โดยมี ครูบาคำ คัมภีโร เจ้าอาวาสวัดกลางเวียง เป็นพระอุปัชฌาย์ พอเป็นพระเต็มตัว ขึ้นจากกลางน้ำก็รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าตุ้มดอนเลย
ครูบาบุ๋น เจ้าบุญจุ่ม ประเดิมกิจกรรมของวัด ด้วยการ พัฒนาให้เป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมของไทยใหญ่ ตั้งแต่บัดนั้น ซึ่งในอดีตมีหลายแห่ง เนื่องจากคนในพื้นที่มีเชื้อสายไทยใหญ่ ในอำเภอพร้าวปัจจุบันคงเหลือเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ยังคงสืบสาน...
OOO
ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล
ครู บาบุ๋นเจ้าบุญจุ่ม...มีคุณธรรมพิเศษในพลังรักษาโรคซึ่งก็ได้ใช้ในการช่วย บำบัดแก่ชาวบ้านจนได้รับแรงศรัทธาเลื่อมใส อีกทั้งมีฌานที่สามารถหยั่งรู้ว่าใครจะไปใครจะมา คนในสมัยนั้นจะให้ฉายาว่าครูบาบุญจุ่มตาทิพย์
ครูบาบุ๋นเจ้าบุญจุ่ม ได้นำภิกษุสามเณรและชาวไทยใหญ่ไปร่วมกิจกับครูบาศรีวิชัยในการ สร้างทางขึ้นดอยสุเทพ นอกจากนั้น ยังได้สัมผัสกับอริยสงฆ์หลายรูปทั้งของสยามและพม่า อย่างเช่น ได้ สนทนาธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เมื่อครั้งธุดงค์มาสำนักสงฆ์สันบัวนาค...
และสุดท้ายของชีวิตหลัง อายุครบศตวรรษแล้ว... หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ซึ่งอยู่วัดดอยแม่ปั๋ง ห่างจากวัดป่าตุ้มดอนราว 10 กว่ากิโลเมตร ก็เดินทางมาสนทนาธรรมด้วย
ครู บาบุ๋นเจ้าบุญจุ่มได้ละสังขารอย่างสงบ ถือว่าเป็นอมตสงฆ์ ผู้เป็นรัตตัญญู 6 แผ่นดินของรัตนโกสินทร์ จึงสมควรสร้างอนุสรณ์เป็นที่ระลึกจ่ายแจกแก่สาธุชนรุ่นหลัง ได้รับพลังบารมีปกป้องคุ้มภัยให้โชค
การสร้างเหรียญครูบาบุ๋นเจ้าบุญ จุ่มครั้งนี้ได้รับความสนใจและอนุเคราะห์จากอริยสงฆ์ที่เข้มขลังในอาคมแห่ง ยุคร่วมบริกรรมประจุคาถาหลายรูป อาทิ พระครูสิริวัตรวิมล วัดบ่อเต่า ครูบาน้อย เตชปัญโญ วัดศรีดอนมูล ครูบาประเสริฐ ปวโร วัดหนองปลามัน ครูบาบุญยัง ปุญนากโร วัดห้วยน้ำอูน ครูบาสุวัตร วัดดอนขี้เหล็ก...ฯลฯ
OOO
โดย เฉพาะ....ครูบาบุญชุ่ม ถ้ำผาไท ลำปาง ซึ่งอดีตเคยจำวัดในดินแดนพม่าและเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของชาวไทยใหญ่ ประเดิมด้วยนำเข้าบริกรรมในถ้ำ 4 วันพระ และ ครูบาออ อู่บัญติ วัดพระธาตุดอยจอมแวะเชียงดาว อริยสงฆ์นักปฏิบัติ ได้ เพ่งกสินธุ์นั่งบริกรรมเดี่ยวก่อนพระอาทิตย์ตกดิน
ล้วนแล้วแต่มี เคล็ดลับการประจุพลังอาคมเพื่อให้เข้มขลัง ส่วนจะขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับจิตใต้สำนึกและความเลื่อมใส ของแต่ละบุคคล...อย่าหมิ่นด้วยการลองของ...!!
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น