เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ระลึก136 ปี ปราบอั้งยี่ภูเก็ต

เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง ระลึก136 ปี ปราบอั้งยี่ภูเก็ต

26 ธันวาคม 2547.....แผ่นดินไหว ณ ท้องทะเล อันดามัน เกิดคลื่นยักษ์  (Tsunami) โหมเข้าบริเวณชายฝั่ง ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง สตูล.....และ ภูเก็ตถือว่าเป็นจังหวัดหน้าด่าน

ภัยพิบัติในครั้งนั้นสร้างความเสีย หายและเดือดร้อนถึง 326 หมู่บ้าน 54,672 คน ทั้งนี้ ไม่ได้ นับรวมที่เสียชีวิต 5,374 คนกับสูญหายไปอีก 3,132 คนและถ้าตีความเสียหายมูลค่าเป็นเงิน 17,508.67 ล้านบาท โดยไม่นับรวมสิ่งสาธารณประโยชน์ (ราวๆ 1,102.06 ล้านบาท) กับ สิ่งแวดล้อมสลายซึ่งประเมินค่ามิได้

ช่วงแห่งคาบเวลาที่เกิด เหตุ....ชาวภูเก็ตส่วนหนึ่งพากันหลบภัยแบบหนีตายไปแน่นขนัดที่วัดฉลอง  หรือวัดไชยธาราม  ด้วยศรัทธาและเชื่อมั่นว่า บนผืนที่แห่งนี้ปลอดภัย รอกระทั่งสถานการณ์เข้าสู่ สภาวะปกติ  สงบร่มเย็นแล้วจึงพากันแยกย้ายกลับถิ่นฐาน

วัดฉลอง...ในปริมณฑลเชื่อ กันว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานเก่าแก่อยู่ 3 อย่าง คือ พระพุทธรูป ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “พ่อท่านเจ้าวัด” กับรูปหล่อชายชรานั่งถือตะบันหมากเรียกว่า “ตาขี้เหล็ก” และ “นนทรีย์” ซึ่งเป็นรูปหล่อยักษ์ถือกระบองน่าเกรงขาม โดยศรัทธาว่า มีอิทธิฤทธิ์ในด้านปกป้องคุ้มภัย
หลวงพ่อแช่มกับหลวงพ่อช่วง 2 อริยสงฆ์แห่งภูเก็ต


หลวงพ่อแช่มกับหลวงพ่อช่วง 2 อริยสงฆ์แห่งภูเก็ต

วัด ฉลอง...เป็นศาสนสถานที่เก่าแก่ ตั้งอยู่ถนนเจ้าฟ้าตะวันตก ตำบลฉลอง ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 8 กิโลเมตร สร้างเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ 2

ด้วยสมัย นั้น....พม่ายกทัพมาตีเมืองถลาง ราษฎรจึงอพยพขึ้นมาตั้งหลักปักฐานที่นี่ จนรอดปลอดภัยอยู่เย็นเป็นสุข จึงได้สร้างวัดขึ้นเพื่อประกอบกิจทางศาสนา โดยเชื่อและศรัทธาว่าปริมณฑลแห่งนี้เป็นชัยภูมิที่ดีมีความปลอดภัย  แล้วจึงอาราธนา “พ่อท่านเฒ่า”มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

ศิษย์เอก “พ่อท่านเฒ่า” และเป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมาคือ “หลวงพ่อแช่ม” อริยสงฆ์รูปนี้ เป็นที่เลื่อมใสนับถือกันมากของ ชาวภูเก็ตและใกล้เคียง แม้ว่าจะละสังขารไปนานกว่านับศตวรรษ ปัจจุบันความเลื่อมใสก็ยังมิคลาย จะภัยเล็กภัยใหญ่ จะมาถึงหรือยังไม่มา.....ก็ยังภาวนา “หลวงพ่อแช่มช่วยด้วย.!!”
ด้านหน้าวัดฉลองหรือวัดไชยธาราม


ด้านหน้าวัดฉลองหรือวัดไชยธาราม

หลวง พ่อแช่ม....เกิดที่ทับปุด พังงา ในสมัยพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ 3 เมื่อปี 2370 เข้าสู่ร่มกา- สาวพัสตร์ ณ วัดฉลอง ตั้งแต่เป็นสามเณรได้ ศึกษา วิปัสสนาธุระและวิชาอาคมจนมีพลังแก่กล้า  จนเป็น ที่เลื่อมใสจากทั่วทุกทิศก็หันมาพึ่งในบุญบารมี สามารถบำบัดรักษาโรคต่างๆแม้ต้องคุณไสย

เพียง   บริกรรมคาถาแล้วใช้ไม้เท้าจี้จุด  ก็หาย ได้อย่างชะงัด ถือว่า ไม้เท้าด้ามนี้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันหนึ่งคู่กับชีวิตของหลวงพ่อแช่ม...!!

เมื่อ ปี 2419 ได้เกิดภัยร้ายแรงและหนักหน่วงแก่สังคม ด้วยชาวจีนอพยพรวมตัวกัน ตั้งเป็น “อั้งยี่” ก่อเหตุวุ่นวายจะเข้ายึดการปกครอง ไล่ล่าฆ่าชาวบ้านแม้เจ้าหน้าที่ก็ต้องลดท่าล่าถอย สร้างความเดือดร้อนไปทั่วทุกหย่อมหญ้า ถึงขั้นบุกทำลายเผาหมู่บ้านที่อยู่อาศัย (ยังมีหลักฐาน ปัจจุบัน หมู่บ้านนั้นมีชื่อว่า บ้านไฟไหม้)

เหตุการณ์ ครั้งนั้น.....ผู้คนต่างหนีตายไปแออัดอยู่ที่วัดฉลอง (เหมือนดั่งที่เกิด Tsunami ครั้งที่ผ่านมา) หลวงพ่อแช่มจึงเอาผ้าขาวม้ามาลงยันต์ เป็นผ้าประเจียดให้ศิษย์โพกหัวแล้วต่อสู้กับอั้งยี่ แล้วก็ปราบพวกกบฏเหล่านั้นสิ้นลงอย่างราบคาบ  ยุติความหวาด คืนความสงบสุขให้กับชาวบ้านที่หนีร้อนไปพึ่งเย็น....ชื่อเสียงได้ขจรขจายมา ตั้งแต่บัดนั้น

สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาล ที่ 5 ทราบเรื่อง จึงโปรดเกล้าฯให้หลวงพ่อแช่มเข้ามาในพระบรมมหา ราชราชวัง พระราชทานสมณศักดิ์เป็น  พระครูวิสุทธิ-วงศาจารย์ญาณมุนี มีตำแหน่งเป็นสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต อันเป็นตำแหน่งสูงสุดของบรรพชิตจักพึงมีในสมัยนั้น และโอกาสเดียว กันก็พระราชทานนามวัดฉลองเป็น “ไชยธาราม” แต่ส่วนใหญ่....ก็ยังติดปากกันว่า “หลวงพ่อแช่มวัดฉลอง

หลวงพ่อแช่ม....ละสังขารเมื่อวันเสาร์ที่ 18 เมษายน 2451

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้บันทึกเรื่องราวต่างทั้งเกร็ดเล็กเกร็ดย่อยในปาฏิหาริย์ของ หลวงพ่อแช่ม ทั้งครั้งยังมีชีวิตและหลังมรณภาพ

มี ตอนหนึ่งว่า.....ตั้งแต่หลวงพ่อแช่มมรณภาพไม่ได้เดินทางมาภูเก็ตอีกเลย  กระทั่งปี 2471 ได้ตาม เสด็จฯพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7 ขณะนั้นหลวงพ่อช่วงเป็นเจ้าอาวาสวัดฉลอง.....จึงแวะไปกราบนมัสการรูปหลวงพ่อแช่ม
ภูเก็ตในอดีตยุคอังยี่


ภูเก็ตในอดีตยุคอังยี่

รูป ที่ตั้งบูชานั้นมีคนเอาทองคำแผ่นมาปิดแก้บนกันจนเต็ม เว้นไว้เฉพาะตรงบริเวณใบหน้าหลวงพ่อแช่มให้รู้ว่าเป็นรูปใครเท่านั้น  แม้แต่ไม้เท้าของหลวงพ่อแช่มก็มีการปิดทองด้วยเช่นกัน.....แสดงให้เห็นถึง ปฏิปทาในศรัทธาบารมี

ปี 2486 .....พระวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี  “เพรา  พุทธสโร” เจ้าคณะจังหวัดภูเก็ตสืบสานความเลื่อมใสด้วยการสร้างรูปเหมือนหลวงพ่อแช่ม กับหลวงพ่อช่วงประดิษฐานวัดฉลอง จึงได้สร้างเหรียญที่ระลึกหลวงพ่อแช่ม “พิมพ์ยันต์วรรค” จ่ายแจกเป็นการหาทุนในการสร้าง

วัตถุมงคลรุ่นนี้ระยะหลังๆ เป็นของเก่าที่มีประสบการณ์มากมาย

กับ....เหตุการณ์ ที่เกิดในปี 2547 หรือเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ซึ่งเกิดสึนามิ ผู้คนแห่หลบหนีภัยขึ้นไป บนวัดฉลองอย่างหนาแน่น เป็นการเตือนความจำ (ซึ่งพากันนอนกับดินกินกับทราย) เสมือนเมื่อครั้งที่ชาวถลางหนีอั้งยี่เมื่อศตวรรษที่ผ่าน ล่วงถึงศักราชนี้เป็นระยะเวลาที่ นานถึง 136 ปี

รูปธรรมที่จักต้อง บันทึกให้ยาวนาน  ชาวภูเก็ต จึงได้สร้างเหรียญหลวงพ่อแช่มแบบรุ่นโบราณเป็น อนุสรณ์ เพื่อจ่ายแจกแก่ผู้ศรัทธาเลื่อมใสเตือนไว้มิให้เลือนลืม.....

......136 ปี ชาวภูเก็ตปราบอั้งยี่ และ 8 ปี ที่ รอดสึนามิ..!!

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น