สืบสานศรัทธา หลวงปู่นาคห้วยจระเข้สร้างปิดตา 115 ปี

สืบสานศรัทธา...หลวงปู่นาคห้วยจระเข้สร้างปิดตา 115 ปี


ตรุษจีน...วันขึ้นปีใหม่ของจีน ซึ่ง วัฒนธรรมนี้ได้แผ่ขยายไปทั่วทุกมุมโลก...!!

...พอ ถึงเทศกาล ไม่ว่าจะเป็นภายในบ้านเรือนหรือศาสนสถาน ผู้สืบสานจะประกอบมงคลกิจ เสริมพลังให้เป็นเดชเป็นศรีแก่ชีวิต...ตามแต่กำลังแห่งศรัทธา...

ซีึ่งก็ใช่เฉพาะแหล่งศาสน์ของจีนเท่านั้น ทางพุทธวัดวาอารามต่างๆ ก็ได้รับความเลื่อมใสเช่นกัน ส่วนวัดไหนแรงหรือเบา...นั่นก็แล้วแต่
หลวงปู่นาค


หลวงปู่นาค

นครปฐม...เป็น จังหวัดหนึ่งซึ่งมีผู้คนแห่กันไปทำบุญกัน จุดใหญ่ที่ องค์พระปฐมเจดีย์ รองลงมาคือ วัดไผ่ล้อม วันนั้น หลวงพี่น้ำฝน เจ้าอาวาสทำพิธีเจิมนะหน้าทอง แจกส้มมงคล ตั้งแต่เช้ายันเย็น ศรัทธาล้นหลามเข้าคิวแถวยาวเหยียดจนทะลักออกนอกศาลา

อีกแห่งซึ่งห่าง กันราวๆกิโลเมตร แม้จะไม่จัดพิธีกรรมใดๆ ก็มีคนเข้าวัดพอสมควร คือ วัดห้วยจระเข้ นอกจากจะมาเรียน กศน.กับ ครูสมาธิแห่งสถาบันพลังจิตตานุภาพ ตามศาสตร์ของหลวงพ่อวิริยังค์แห่งวัดธรรมมงคล ซึ่งเป็นกิจประจำแล้ว ส่วนหนึ่งถือเป็น ขาจรด้วยศรัทธาเอาเป็นฤกษ์มงคลมารับพระปิดตาฯ กันในช่วงคาบเวลานั้น แม้จะไม่แน่นขนัดยัดทะนานเหมือนงานเทกระจาด.....แต่ก็ไม่ขาดสาย

วัด ห้วยจระเข้...เลขที่ 447 ถนนพิพิธประสาท ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม เดิมชื่อ วัดนาคโชติการาม แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า วัดใหม่ห้วยจระเข้ กาลเวลายาวนานขึ้นจึงหดสั้นเป็น วัดห้วยจระเข้ ชื่อนี้จึงถูกใช้เป็นทางการมากระทั่งปัจจุบัน
หลวงพ่อเสงี่ยมเททองหล่อพระปิดตา


หลวงพ่อเสงี่ยมเททองหล่อพระปิดตา

ผู้ สร้างวัดนี้คือ พระครูปัจฉิมทิศบริหาร “หลวงปู่นาค โชติโก” (ในพระบรมราชโองการระบุสมณศักดิ์หลวงปู่นาคว่า “พระครูปาจิณทิศบริหาร” ในตำแหน่งเจ้าคณะรองเมืองนครชัยศรี เมื่อปี 2435 ต่อมาการเขียนสมณศักดิ์เพี้ยนเป็น “พระครูปัจฉิมทิศบริหาร” ซึ่งก็เป็นคนคนเดียวกันคือ หลวงปู่นาค โชติโก แห่งวัดห้วยจระเข้)

ด้วย กาลนั้น...สมเด็จพระพุทธ เจ้าหลวง รัชกาลที่  5  ได้แต่งตั้งพระเถระ 4 รูปเพื่อทำหน้าที่พิทักษ์องค์พระปฐมเจดีย์ คือ พระครูอุตรการบดี ประจำทิศเหนือ พระครูทักษิณานุกิจ ประจำทิศใต้ พระครูปุริมานุรักษ์ ประจำทิศตะวันออก และ พระครูปาจิณทิศบริหาร ประจำทิศตะวันตกคือ หลวงปู่นาค

หลวง ปู่นาคเป็นอริยสงฆ์ที่เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติ มีศีลาจารวัตรอันงดงาม เพียบพร้อมด้วยเมตตาธรรม-กรุณาธรรม และยังเป็นพระนักพัฒนาจน เป็นที่เคารพเลื่อมใสของบรรดาภิกษุ สามเณร และพุทธศาสนิกชนอย่างกว้างขวาง

จึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย
รูปเหมือนหลวงปู่นาค


รูปเหมือนหลวงปู่นาค

ต่อ มา เมื่อปี 2441 หลวงปู่นาคจึงย้ายจากวัดพระปฐมเจดีย์ ได้ร่วมกับศิษยานุศิษย์สร้างวัดใหม่ขึ้นใกล้ลำห้วยแยกจากคลองเจดีย์พุทธบูชา ตำบลบ่อพลับ (ปัจจุบันคือตำบลพระปฐมเจดีย์) สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงฯ พระราชทานวิสุงคามสีมาในปี 2443 ในนาม วัดนาคโชติการาม

ล่วงถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 คราวใดที่พระองค์และ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จประพาสพระราชวังสนามจันทร์ จะต้องแวะกราบนมัสการหลวงปู่นาค เป็นประจำ

หลวงปู่นาคปกครองวัดห้วยจระเข้นานถึง 11 ปี  จึงละสังขาร ในปี 2452 อายุ 85 ปีพรรษาที่ 65...

ตลอด ระยะเวลากว่าศตวรรษ วัดห้วยจระเข้มีเจ้าอาวาสสืบต่อกันถึงปัจจุบันเป็นรูปที่ 4 คือ พระครูทักษิณานุกิจ หรือ หลวงพ่อเสงี่ยม อาริโย อายุ 89 ปี รับตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2527 รูปที่ 2 คือ พระครูอุตรการบดี (หลวงปู่สุข) เป็นเจ้าอาวาสนานถึง 41 ปี ต่อมาเป็น หลวงปู่ล้ง ในตำแหน่ง พระครูอุตรการบดี เช่นกัน รับตำแหน่งอยู่ 31 ปี จนถึงปี 2527
หลวงปู่นาค เจ้าอาวาสรูปแรกถือว่าเป็น อริยสงฆ์ที่ได้รับความศรัทธาเลื่อมใสสูง เมื่อปี 2432 ตั้งแต่ยังอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์ได้สร้างพระปิดตาเนื้อโลหะ ที่โด่งดังมาก ตอนแรกๆนั้นสร้างด้วยเนื้อสัมฤทธิ์ ชินเงินและชินเขียว ต่อมาจึงได้สร้างเป็น เนื้อเมฆพัด ซึ่งเป็น เนื้อมาตรฐานที่นิยมกันมากในปัจจุบัน
พระปิดตาเมฆพัด 115 ปี


พระปิดตาเมฆพัด 115 ปี

โลหะ เมฆพัด...เกิดจากการนำแร่มาหุงเข้าด้วยกัน อาทิ ทองแดง ตะกั่ว กำมะถัน ปรอท ว่านยา ได้แก่ ไพลดำ ต้นหิงหาย ไม้โมกผา ขิงดำ กระชายดำ สบู่แดง สบู่เลือด ฯลฯ ซัดเข้าไปในเบ้า พอสำเร็จจะได้เป็นโลหะสีดำเงาเลื่อมพราย ตำราไทยโบราณ เชื่อว่าเป็นธาตุกายสิทธิ์มีฤทธานุภาพในตัวเอง...

สมัยหลวงปู่นาคจะ สร้างพระปิดตาเพียง 3 พิมพ์ คือ ท้องแฟบ ท้องป่อง กับหูกระต่าย มีการจาร “นะ คงคา” อันเป็น ยันต์ประจำตัวของหลวงปู่นาค...เล่ากันว่าพระปิดตาวัดห้วยจระเข้ เมื่อสร้างเสร็จแล้วหลวงปู่นาคจะดำน้ำลงไปจารยันต์ (อักขระแต่ละองค์จึงไม่เหมือนกัน) เมื่อเสร็จแล้วปล่อยให้พระปิดตาลอยขึ้นมาเอง หากองค์ไหนไม่ลอยน้ำถือว่าไม่มีพลัง...

ด้วยเลื่อมใส ศรัทธา ชื่อเสียงและเอกลักษณ์ของวัดห้วยจระเข้ที่มีมาอย่างยาวนานจนกลายเป็นตำนาน ทางวัดจึงได้สร้างองค์พระปิดตาตามพิมพ์ของหลวงปู่นาคสูงเท่ากับตึก 2 ชั้น บนลานกว้างเพื่อประกอบศาสนกิจและให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้...เสริมพลัง แสวงโชคลาภสะเดาะเคราะห์ ขจัดภัย

อายุที่ยาวนานล่วงถึง 115 ปีแห่งวัดห้วยจระเข้ เพื่อบันทึกเป็นอนุสรณ์ในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อเสงี่ยม ร่วมกับศิษยานุศิษย์จึงสร้าง พระปิดตาเมฆพัด 155 ปี กับ รูปเหมือนหลวงปู่นาคขึ้น สืบตำนานเจ้าอาวาสรูปแรกและผู้สร้างวัดห้วยจระเข้

เพื่อ...จ่ายแจกแก่ผู้มีจิตกุศลในการร่วมบูรณปฏิสังขรณ์ โบราณสถานและอาคาร ซึ่งชำรุดปรักหักพังไปตามกาลเวลา...!!!

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น