สืบตำนาน..พระพิษณุโลก พิจิตรสร้าง "นางพญา" จ่ายแจก
สืบตำนาน..พระพิษณุโลก พิจิตรสร้าง "นางพญา" จ่ายแจก
พระเกจิอาจารย์ร่วมปลุกเสกคุมธาตุ
พระพุทธเจ้า หลวง....เสด็จฯเมืองพิษณุโลกในปี 2544 ทรง เป็นองค์ประธานหล่อพระพุทธชินราช (จำลอง) เพื่อนำมา ประดิษฐาน ณ วัดเบญจมบพิตรฯ เมืองบางกอก
พสกนิกร ได้เตรียมการรับเสด็จฯได้สร้างที่ประทับ ในเขตปริมณฑลวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (มี 3 วัดด้วยกันคือวัดพระศรีฯหรือใหญ่ วัดราชบูรณะและวัดนางพญา) ขณะที่ขุดดินบริเวณวัดนางพญา ลงไปเพียงคืบเกิดปาฏิหาริย์ พบพระเครื่องดินเผาเก่าแก่จำนวนหนึ่ง
O O O
ฉันทามติ ว่า....ด้วย บุญบารมีกษัตริย์รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้พบสมบัติของแผ่นดินซึ่งถูกฝังอยู่ใต้พื้นธรณีนานนับหลายศตวรรษ แล้วได้คัดเลือกองค์สภาพสมบูรณ์นำถวายแด่พระองค์
หลวงพ่อหวั่น
....พระพุทธเจ้าหลวงพระราชทานนามว่า “พระนางพญา” จากนั้นจึงพระราชทานแก่ข้าราช บริพารและพสกนิกรที่เข้าเฝ้าฯถ้วนหน้า ที่เหลือก็นำกลับกรุงเทพฯ
พระ กรุนางพญา มี 7 พิมพ์ คือ พิมพ์เข่าโค้ง เข่าตรง อกนูนใหญ่ อกนูนเล็ก สังฆาฏิ อกแฟบหรือพิมพ์เทวดา และ พิมพ์พิเศษ (มีหลายรูปแบบ) เป็น พระเครื่องจัดอยู่ในชุดเบญจภาคี คือ..... พระสมเด็จ นางพญา ซุ้มกอ พระรอด และผงสุพรรณ
O O O
พระนางพญา....เป็นพระปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยทรงสามเหลี่ยม สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาโดยพระวิสุทธิกษัตรี พระธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและเป็นพระมารดาของ สมเด็จพระนเรศวรฯ ผู้กู้ชาติ....ส่วนจะ ก่อนหรือหลังการสร้าง พระพุทธชินราชมิได้มีบันทึกไว้
ล่วง ถึงปัจจุบันได้มีการค้นพบพระพิมพ์เดียวกันกับนางพญาบ้าง อาทิ เมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในกรุงเทพฯ พบที่กรุวังหน้าข้างโรงละครแห่งชาติอันเป็นที่ตั้งวิทยาลัยนาฏศิลป กับวัดเลียบ (วัดราชบูรณะ) และในปี 2497 ก็พบที่เจดีย์องค์เล็กวัดอินทรวิหาร
ส่วนที่พิษณุโลกก็พบ “พระนางพญากรุน้ำ” ห่างจากวัดนางพญาราวๆ 4-5 กิโลเมตร ในปี 2512 ถึงปี 2530 ก็พบอีกคนละฝั่งฟากเยื้องติดกับถนนหลวงก็พบอีกกรุ....
O O O
แม้ จะพบพระนางพญาจากหลายแหล่ง หลายกรุ (จริงบ้างสร้างเรื่องขึ้นมาบ้าง) จำนวนก็ยังไม่เพียงพอกับความ ต้องการ ด้วยแรงศรัทธา จึงสร้างมูลค่าทางพาณิชย์นับวันยิ่งทวีความรุนแรงสูงขึ้น
หลวงพ่อชุบเป็นประธานเททอง
เพื่อ จะลดแรงกระเพื่อมให้ต่ำลง.....หลวงพ่อหวั่น กุสลจิตโต เจ้าอาวาสวัดคลองคูณ ต.คลองคูณ อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร จึงได้มอบหมายให้ พระครูพิสุทธิวรากร (หลวงพ่อพิทยา) เจ้าอาวาสวัดหนอง-ดง ผู้เป็นศิษย์เอก สร้างพระนางพญา การสืบสาน ตำนานพระเมืองพิษณุโลก...
ให้เป็นศรัทธา....จ่ายแจก ชาวพิจิตรและใกล้เคียง โดย ได้รับการสนับสนุน จาก พระครูสุจิตธรรมวิมล (หลวงพ่อชุบ) เจ้าอาวาสวัดนางพญา ในการดำเนินการทุกขั้นตอน เพื่อให้เกิดความเข้มขลังคุ้มครองผู้ที่มีไว้ครอบครอง
O O O
หลวง พ่อหวั่น....อายุ 78 ปี 57 พรรษา เป็นชาวตะพานหินโดยกำเนิด ได้สัมผัสกับวิชาอาคมมาตั้งแต่เด็กๆ เพราะโยมพ่อคือ “หมอหมึก” เป็นแพทย์แผนโบราณ ซึ่งเก่งทั้งสมุนไพรและไสยศาสตร์ ผีเข้าหรือเจ็บป่วยไข้รักษาได้หมด....จากพ่อสู่ลูกศาสตร์เหล่านี้จึงได้รับ การถ่ายทอดอย่างเต็มเปี่ยม
สิ่งที่ฝังแน่นคือ....ความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ผู้เกิดร่วมโลกเสมอญาติ...!!!
และ....ได้ เรียนวิชาทำ ตะกรุดและการเขียนยันต์ภาษาขอมจากตำราของหลวงปู่จันทร์แห่งวัด คลองคูณ จากนั้นจึงหันไป ศึกษาในศาสตร์ของมอญจาก หลวงพ่อโพธิ์ วัดคลองหมาเน่า ในการลงยันต์ตะกรุดคงกระพัน แล้วก็ เสริมอาคมให้เข้มด้านมหานิยมกับพระอาจารย์รอด ซึ่งยุคนั้นเรืองเวทด้านนี้มาก
O O O
ด้วย อาคมแกร่งกล้าบวกกับการเมตตาที่ฝังแน่นมาจากครอบครัวเป็นทุนเดิม จึงเกิดพลังใน จิตใต้สำนึกในความมุ่งหวังต่อการสงเคราะห์ชาวบ้าน เลยสร้าง ตะกรุดสาลิกา กับ ตะกรุดมหาอุด....จ่ายแจก
พระประธานวัดนางพญา
ช่วง แรกๆ....ก็ไม่มีใครเลื่อมใสด้วยพรรษายังน้อย แต่พอนำไปใช้แล้ว มีอภินิหารมีและได้สัมผัสประสบการณ์ โชคลาภ อยู่ยงคงกระพัน กระแสข่าวกระพือขยายวงกว้าง
ส่งผลให้....สมภารหนุ่มในขณะนั้นได้รับ ความ เลื่อมใส ญาติโยมที่ศรัทธาต่างทะลักเข้ามาขอตะกรุดกันอย่างไม่ขาดสาย (แม้ยามนั้นการคมนาคมจะไม่สะดวก) เชื่อมต่อถึงปัจจุบัน คนถิ่นภาคเหนือตอนล่าง อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ฯลฯ ต่าง เลื่อมใส ขนานนามว่า....เทพเจ้าวาจาสิทธิ์ผู้มีจิตเมตตา...!!
O O O
ล่วง ถึงศักราชนี้.... “หลวงพ่อหวั่น กุสลจิตโต” เข้าสู่ปัจฉิมวัย ศาสตร์ต่างๆได้ถ่ายทอดให้ศิษย์ และหนึ่งในนั้นคือ “พระครูพิสุทธิวรากร (หลวงพ่อ พิทยา)” รองเจ้าคณะอำเภอโพทะเล จึงได้มอบหมายให้สร้างพระนางพญา โดยให้ชื่อว่า....“มหาโภคทรัพย์” เพื่อให้ผู้ที่มีไว้ได้โชคลาภเป็นทรัพย์สมบัติมหาศาล
และ....ด้วย ความกตัญญู ศิษย์ผู้รับดำเนินการจึงได้สร้าง “รูปหล่อของหลวงพ่อหวั่น” ขึ้นในคราวเดียวกัน ทั้งแบบบูชาและสำหรับห้อยคอ....ให้เป็นที่ระลึกสำหรับผู้ศรัทธาเลื่อมใส
โดย....ได้ รับความเอื้อเฟื้อจากวัดสุทัศน์ฯ ให้ นำชนวนเข้าร่วมในพิธีกรรมพุทธาภิเษก 155 ปี พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราชแพ เมื่อ 26 กรกฎาคม 2555....เป็นการประเดิมแห่งความขลัง
O O O
ต่อมา วันที่ 5 กันยายน 2555 จึงเข้าพิธีเททองและกดพิมพ์เป็นปฐมฤกษ์ ณ มณฑลพิธีวัดนางพญา ซึ่ง หลวงพ่อชุบ เจ้าอาวาส เป็นประธานและปลุกเสกคุมธาตุ โดยมี หลวงพ่อรวย วัดตะโกอยุธยา หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว อยุธยา และ หลวงพ่อพิทยา วัดหนองดง พิจิตร ร่วมฯ....
พระนางพญา
ก่อน จ่ายแจก....จะเข้าพิธีกรรมครั้งสุดท้าย 20 พฤษภาคมในการพุทธาภิเษก ณ วัดคลองคูณ โดย หลวงพ่อหวั่น จัด ดำเนินการทุกขั้นตอนเสริมพลังอย่างเข้มขลัง....ด้วยอักขระและคาถา
“มะ อะ อุ เอกะจันโตโหติ สุนทโร ปรมังสุขัง ติชะติ....อุดมทรัพย์ แคล้วคลาด ปลอดภัย”.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น