เปิดตำนาน "ชนะจน วันเพ็ญ" อนุสรณ์ พรรษา 50 หลวงพ่อโฉม [เหนือฟ้าใต้บาดาล]

เปิดตำนาน "ชนะจน วันเพ็ญ" อนุสรณ์ พรรษา 50 หลวงพ่อโฉม [เหนือฟ้าใต้บาดาล]

 

พระครูปทุมอรรถสุนทร หรือ“หลวงพ่อโฉม”. “ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว....” ...เป็น ข้อความตอนหนึ่งใน “นิราศ

ภูเขาทอง” ซึ่ง “พระสุนทรโวหาร” บันทึกขณะเดินทางจากกรุงรัตนโกสินทร์ทวนสายน้ำเจ้าพระยาสู่อยุธยา...โดย บรรยายถึงบรรยากาศของสยาม ในยามนั้น
O O O
พระอุโบสถมหาอุตต์.
พระอุโบสถมหาอุตต์.
ขยับ ขึ้นไปอีก 2 คุ้งน้ำ.....ถึง เมืองสามโคกมีวัดเก่าแก่ แห่งหนึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง ว่ากันว่าชาวมอญอพยพจากเมาะตะมะร่วมศรัทธาสร้างกันก่อนกรุงศรีฯแตก แต่ก็มีบางหลักฐานบันทึกว่าสร้างราวๆปี 2360 (ยุคต้นรัตนโกสินทร์) คนไทยเรียก “วัดขอม” แต่คนมอญขานนามว่า “แพ พะ แต๊ะ” อันหมายถึง พระพุทธบาท ล่วง ถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เสด็จฯเมืองสามโคก ได้สร้างพลับพลาประทับที่หน้าวัดแห่งนี้ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “วัดตำหนัก” เพื่อให้ทราบพิกัดกันต่อมากระทั่งปัจจุบัน
O O O
พญาครุฑ.
พญาครุฑ.
วัดตำหนัก เมืองสามโคก ปทุมธานี ยังคงเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แม้บางสิ่งบางอย่างอาจชำรุดบ้างตามอายุขัย อาทิ พระอุโบสถมหาอุตต์ (ไม่มีหน้าต่าง) อันเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปศิลา ชาวบ้านเรียกพระประธานองค์นี้ว่า “หลวงพ่อหิน” ชาวบ้านยังคงศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ และ....อีกอย่างอันเป็นนาม ของวัดคือ พระพุทธบาท (สร้างด้วยศิลามีขนาดยาว 3 ศอก กว้างราวศอกกว่า) ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในมณฑปยังมีคนไปกราบไหว้เป็นประจำด้วยความเลื่อมใส ดั่งเช่นในอดีต
O O O
ด้วยกาลเวลา เนิ่นนานนับศตวรรษ ศาสนสถานแห่งนี้ได้เปลี่ยนเจ้าอาวาส ไปหลายรูป (ส่วนจะมากเท่าใด มีใครบ้างนั้น มิได้มีหลักฐานบันทึกไว้) สำหรับรูปปัจจุบัน คือ พระครูปทุมอรรถสุนทร “โฉม เตชวโร” แต่ชาวบ้านมักขานสั้นๆว่า...หลวงพ่อโฉม หลวงพ่อโฉม นามเดิมคือ “บุญถม ห้อยภู่” เป็นชาวปทุมธานีโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี 2466 เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์เป็นภิกษุ 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการบวชตามประเพณี หลังออกจากรับราชการทหารตอนอายุ 22 ปี ณ พระอุโบสถวัดป่างิ้ว อยู่เพียงพรรษาเดียว ก็ลาสิกขามาช่วยครอบครัวทำนาหาเลี้ยงส่งเสียน้องๆให้ได้รับการศึกษามี อาชีพ... รับผิดชอบในฐานะที่เป็นพี่ชายคนโต (ขณะนั้นบิดาบวชเป็นพระ)
O O O
บริเวณหน้าวัดที่สร้างพลับพลาฯตอนนี้เป็นท่าน้ำ.
บริเวณหน้าวัดที่สร้างพลับพลาฯตอนนี้เป็นท่าน้ำ.
ช่วง ที่เป็นฆราวาส “บุญถม ห้อยภู่” แม้จะใช้ชีวิตในท้องทุ่งก็ยังเข้าวัดศึกษาเรียนรู้ในศาสตร์ต่างๆ เป็นศิษย์ หลวงพ่อหอม วัดบางเตยกลาง ที่ขาดมิได้และรับเต็มๆคือจาก หลวงพ่อฉิน ผู้เป็นบิดา ซึ่งทั้ง 2 ท่านนี้ได้รับการถ่ายทอดวิชาอาคมจากพระสายหลวงพ่อจ่าง วัดไผ่ล้อม และก็ได้ นำความรู้เหล่านี้มาช่วยสงเคราะห์ชาวบ้าน ในละแวกนั้นจนเป็นที่เลื่องลือ... ...เมื่อ ครอบครัวและน้องๆมีฐานะที่มั่นคงแล้ว ด้วยจิตที่มุ่งมั่นในการสงเคราะห์ต่อสังคม “บุญถม ห้อยภู่” จึงตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อีกครั้ง ณ วัดดอกไม้ เมื่อตอนอายุได้ 40 ปี ซึ่งครั้งหลังนี้ ยาวนานมากระทั่งถึงปัจจุบัน
O O O
การ กลับเข้ามาเป็นสงฆ์ในครั้งนี้ได้เรียนวิชาจาก หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก กับ หลวงพ่อบัววัดตำหนัก เป็นการเพิ่มเติมความเข้มขลังยิ่งกว่าเป็นฆราวาส ประกอบกับเป็นผู้มีจิตเมตตาเป็นพื้นฐาน จึงใช้วิชาอาคมสงเคราะห์ช่วยเหลือศิษยา- นุศิษย์โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ จนได้รับแรงศรัทธาขจรไปทั้งไกลใกล้ โดยได้สำแดงจิตปฏิบัติ...ในพลัง ด้าน เมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้ว-คลาด ปลอดภัย สร้างกำลังใจให้มีความเข้มแข็งในการทำมาหากิน ทั้งบุคคลและกลุ่มชน ได้รับความสำเร็จเป็นรูปธรรมอย่างเด่นชัดและต่อเนื่อง ขยับฐานะจากลำเค็ญเป็นร่ำรวย ต้อยต่ำก็สูงในยศถาบรรดาศักดิ์ ...ด้วย ศรัทธาเลื่อมใส จึงได้รับการยกย่องเป็น...เทพเจ้าแห่งเมืองดอกบัว...!!
O O O
เหรียญชนะจนฯ.
เหรียญชนะจนฯ.
ล่วง ถึงศักราชนี้ (2556) หลวงพ่อโฉมอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ครบ 50 พรรษา ประจวบกับอายุครบ 90 ปี เหล่าศิษยานุศิษย์ได้ร้องขอให้หลวงพ่อฯ สร้างเครื่องรางของขลังแจกเพื่อเป็นอนุสรณ์ แรกๆก็ยังไม่รับปากด้วยยามนี้ยังอยู่ในภาวะที่ข้าวยากหมากแพงอยู่ แต่ ด้วยจิตเมตตา....จึงยอมที่จะสงเคราะห์ให้สมปรารถนา และได้ย้อนถามกลับไปว่า ในความต้องการนั้นอยากได้อะไร ซึ่งทุกรายตอบเป็นคำเดียวกันว่า...รวย หลวงพ่อโฉม จึงบอกว่า...งั้นหลวงพ่อให้ชื่อว่า “ชนะจน วันเพ็ญ” ก็แล้วกัน เพราะจะปลุกเสกวันสุดท้ายในคืนวันเพ็ญเดือน 12 จากนั้นจึงจะจ่ายแจก แล้วก็ตรองต่อนิดหนึ่งว่า....
...รุ่นนี้ทำ 3 อย่างพอ พระกริ่ง พญาครุฑ กับ เหรียญฯ...ศิษย์ทั้งหลายก็พอใจและเห็นดีด้วย...!!!
O O O
พระกริ่งปวเรศ.

พระกริ่งปวเรศ.

พระกริ่งปวเรศ...พุทธคุณเข้มขลัง มีโชคลาภในด้านฐานะและความเป็นใหญ่เป็นโต พญาครุฑ...มีพลังในความเจริญรุ่งเรืองเป็นมหาอำนาจ ไม่อับจน คุ้มภัยได้ทุกด้านทุกเมื่อ เหรียญชนะจน...ชื่อก็บอกตรงว่า “ต้องรวย” จึงจะชนะ ซึ่ง “หลวงพ่อโฉม” ได้ใช้เวลาในการปลุกเสกตลอดไตรมาสช่วงเข้าพรรษา หลังออกหยุดพักไป 3 วันพระ (แรม 8 กับ 15 ค่ำ เดือน 11 ขึ้น 8 ค่ำเดือน 12) แล้วนำมา บริกรรมครั้งสุดท้าย ในวันที่ 17 พฤศจิกายน คือ วันลอยกระทง โดยได้อธิษฐานว่า หากวัตถุมงคลนี้เข้มขลังมีพลัง ขอให้มีปรากฏการณ์ ดีๆ...เถิด
O O O
ถึงช่วงกลางดึก เที่ยงคืน พระจันทร์ขึ้นตรงหัว ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ฤกษ์อาบน้ำเพ็ญ” แล้ว เกิดทรงกลด รุ้ง 7 สี เป็นวงรอบนานกว่าชั่วโมง จึงค่อยๆสลาย ซึ่ง ถือว่าเป็นนิมิตอันดี รุ่งขึ้นจึงได้ จ่ายแจกวัตถุมงคลเหล่านั้นแก่ศิษย์ผู้เลื่อมใส...ตั้งแต่วันนั้นมายังไม่มี ข่าวว่าใครผู้ใดถูกหวยรวยเบอร์.... ...ท่ามกลางกระแสเงียบนี้ ภายใต้จิตสำนึกมีปีติผุดขึ้นว่า บนแผ่นดินสยามยามนี้ มีอริยสงฆ์ผู้สั่งสมเมตตาพลังอย่างเต็มเปี่ยมมายาวนานถึงครึ่งศตวรรษ เกิดขึ้นอีกรูปแล้ว...นั่นคือ ความขลังอันที่เป็นอมตะ...!!

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น