พญาวัน...ไหว้ธาตุจามเทวีร่วมกิจ..ปว้าผาโด้ปกากะญอ

พญาวัน...ไหว้ธาตุจามเทวีร่วมกิจ..ปว้าผาโด้ปกากะญอ




ทำบุญทอดผ้าป่า นำของไปจ่ายแจกชาวเขา.

สงกรานต์....ประเพณี แห่ง วัฒนธรรมโบราณของแดนดินสุวรรณภูมิ ซึ่งแผ่ขยายถึงจีนตอนล่าง (สิบสองปันนา) เพียงแต่มีชื่อเรียกที่ต่างกันตามภาษาของท้องถิ่น  ส่วนใครจะสืบสานได้ยาวนานแค่ไหน ก็แล้วแต่ละกลุ่มมวลชนจะยอมให้คลื่นอารยธรรมต่างแดนกลืนโถม....สลายความเข้ม ข้นวัฒนธรรมให้เจือจาง
.....ใน บ้านเราที่ยังรักษาไว้ได้อย่างเข้มขลังคือ ภาคเหนือ กับ อีสาน โดยเฉพาะพื้นที่ ล้านนา ยังถือว่าคงเรียกเทศกาลนี้ว่า....ปี๋ใหม่เมียง

O O O

ยามถึงช่วงเทศกาล.....ผู้อยู่ต่างถิ่นแดนไกลจะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อร่วมกิจประเพณี
.....อดีต ที่ผ่าน  แต่ละหมู่บ้านจะร่วมเดินทางโดยเช่าหรือเหมารถบัสใหญ่หมู่บ้านละ 2 หรือ 3 คัน แต่ละคันจะแน่นขนัด บางคันถึงขั้นมียืน
แต่วันนี้ทั้งตำบลจัดรถกันเพียงคันเดียวก็โหรงเหรง เพราะขับเก๋งและปิกอัพกลับกัน...!!
รูป การณ์นี้...เป็นมาตรวัด การก้าวกระโดดระดับพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แต่หากมองในมุมสะท้อนกลับแล้ว กลุ่มวัตถุนิยมเหล่านั้นกว่าจะถึงที่หมายต้องบวกเวลาเพิ่มอีก 2 ถึง 3 เท่าของการเดินทางตามปกติ....ทั้งยังเผาผลาญพลังงานทิ้งอย่างเลี่ยงหลีกมิ ได้โดยใช่เหตุ คือ....น้ำมันเชื้อเพลิง...!!
เณรแชมป์กับชาวปกากะญอ.


เณรแชมป์กับชาวปกากะญอ.

O O O

ประเพณี ปฏิบัติในเทศกาลสงกรานต์ที่ถูกยกขึ้นเป็นเอกลักษณ์คือ การเล่นสาดน้ำ ความจริงแล้วเป็นเพียงปัจจัยร่วม ด้วยคาบเวลาอยู่ในช่วงฤดูร้อน จึงสร้างกุศโลบายเพื่อคลายอุณหภูมิ...สร้างเสริมสุขกับสถานการณ์ให้สนุกสนาน
แต่....สุข ที่เป็นแก่นสารจริงๆของเทศกาลคือ การร่วมกิจกุศล ทำบุญให้ทานตามวิถีแห่งพุทธฯ.... และ สักการะบรรพบุรุษ (ทั้งที่ยังมีชีวิตและตายจาก) อันเป็นการ แสดงออกถึงความกตัญญู...!!ตามประเพณี....จะจัดกันเต็มๆเพียง 3 วัน
คือ 13 ถึง 15 เมษายน....โดยวันแรกคือ “สังขานต์-ล่อง” เป็น วันสิ้นสุดศักราชเก่า อาจมีการจุดประทัดส่งเสียงขับไล่เสนียดจัญไรให้ไปตามกาล รุ่งขึ้นคือ “วันเนา” หรือ “วันเน่า” เป็นการเริ่มต้นตรุษ จะประกอบกิจแต่สิ่งดีๆ....เชื่อว่าจะส่งเป็นมงคลกับชีวิตไปตลอดทั้งปี

O O O

15 เมษายน....ถือว่าเป็น “พญาวัน” มีการ “รดน้ำดำหัว” คือนำลูกหลานไปขอขมาลาโทษ (สูมาคารวะ) และ ขอพรต่อผู้ใหญ่เพื่อความเป็นสิริมงคล บางหมู่บ้านบางวัดจะมีการประกอบกิจอื่นๆ อาทิ แห่ไม้ค้ำ (โดยนำไม้เป็นง่ามไปค้ำกิ่งของต้นไม้ภายในวัด) โดยเชื่อว่า เป็นการค้ำดวงชะตาแก่ผู้ที่ร่วมยกไม้ขึ้นค้ำ....ให้เจริญรุ่งเรือง
กิจ “พญาวัน” นอกเหนือจากนี้ก็ทำได้ อย่างเช่นที่ วัดปัญญาวุธาราม (สันกู่) เลขที่ 515 ต.หางดง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ จัดพิธีกรรม สักการะพระธาตุจามเทวี แสดงความกตัญญูต่อบูรพกษัตรีแห่งอาณาจักรล้านนา
ฝึกสมาธิปฏิบัติให้สามเณรชาวเขาเดินจงกรม.


ฝึกสมาธิปฏิบัติให้สามเณรชาวเขาเดินจงกรม.

O O O

ตาม บันทึกประวัติศาสตร์ล้าน-นา....ปี 1201 เจ้าแม่จามเทวีได้ออกศึกกับอริราชศัตรูในเขตชายแดนเหนือ หลังเสร็จศึกกลับนครได้นำศพทหารที่ร่วมรบกลับเมืองหริภุญชัยตามทางน้ำ แล้วเกิดอุบัติเหตุเรือล่ม จึงให้นำศพทหารเหล่านั้นขึ้นมาประกอบพิธีกรรม ณ จุดนั้นตามประเพณีโบราณ
เจ้าแม่จามเทวีจึงได้สร้างวัดขึ้น แล้วสร้าง กู่ (เจดีย์) เก็บกระดูกเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ไพร่พลที่เสียชีวิตในการศึก (นามว่าสันกู่ หมายถึงสถานที่ฝังกระดูก) ซึ่งพระองค์ได้เสด็จมาถือศีลปฏิบัติธรรมอุทิศส่วนกุศลให้กับดวงวิญญาณทหาร ที่วัดแห่งนี้เป็นกิจวัตร กระทั่งเสด็จสวรรคต....
จากนั้นก็ถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง เมื่อใด นานเท่าใด ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด

O O O

“แม่ อุ้ยคำ คำ-ป๊ก”....ผู้เฒ่าแห่งบ้านหินกอง ยุคทันสมัยสงครามโลก เล่าว่า....ก่อนนั้นช่วงเด็กๆ กลางคืนได้ยินเสียงช้างม้าวิ่งเป็นหมู่ๆ ซึ่งร่ำลือกันว่าเจ้าของกู่ได้ย้ายสมบัติ....คงเหลือไว้แต่อิฐเก่าๆ
เมื่อ ปี 2497 ครูบากาบ ชัยลังกา วัดอินทาราม (แม่ทัง) หางดง เห็นซากปรักหักพังไร้ประโยชน์  จึงให้ชาวบ้านขนอิฐไปสร้างโรงเรียนบ้านแม่ทัง ทุกวันนี้อาคารนั้นยังอยู่
ต่อ มาในปี 2521 ครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน จึงมารื้อฟื้น ตั้งเป็นสำนักปฏิบัติ-ธรรม ขึ้น ณ วัดร้างแห่งนี้ พัฒนามาตามลำดับ กระทั่งยกฐานะเป็น วัดปัญญาวุธาราม (สันกู่) ปัจจุบันได้รับเลือกจากกรมการศาสนาให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง โดยมี สามเณรธนวัฒน์ ทาทำ (วิ) หรือ “เณรแชมป์” รักษาการเจ้าอาวาส
นำชาวเมืองบวชเทิดพระเกียรติฯ.


นำชาวเมืองบวชเทิดพระเกียรติฯ.

O O O

เณร แชมป์....อายุ 19 ปี เป็นชาวฮอดโดยกำเนิด พ่อแม่เป็นชาวสวน มีพฤติกรรมฝักใฝ่ศาสนาตั้งแต่อายุเพียง 3 ขวบ บวชครั้งแรกเมื่อปี 2546 แล้วลาสิกขา ต่อเมื่ออายุ 11 ขวบ ในปี 2548 จึงได้บวชเนกขัมมะในปีต่อมา จึงเป็นสามเณรกระทั่งปัจจุบัน
โดย เรียนสายสามัญจบชั้น ม.6 (ขณะนี้กำลังต่ออุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยแม่โจ้) ในด้านธรรมบาลี ได้นักธรรม และ กำลังเรียนปริยัติธรรม ประโยค 3 พร้อมทั้งศึกษาและปฏิบัติธรรมวิปัสสนากัมมัฏฐานจากพระธรรมมังคลาจารย์ (ทอง ศิริมังคโล) นานร่วม 7 ปี

O O O

เณรแชมป์ได้นำศาสตร์ทั้ง หลายไปขยายในศาสนกิจแก่ชาวบ้าน ชาวเขา และชนกลุ่มน้อยอย่าง ทั่วถึง โดยตระหนักถึงการศึกษาของเยาวชนชาวเขาและเด็กด้อยโอกาส ได้สร้าง โรงเรียนสามัญ-นักธรรม-บาลี มีสามเณรชาวเผ่าปกากะญอมาเรียนในปัจจุบันกว่า 30 คน
และ....ขณะนี้ก็อยู่ในระหว่างพัฒนาบูรณปฏิสังขรณ์ศาลาปฏิบัติธรรม กับพระอุโบสถกลางน้ำ เพื่อให้เหมาะสมเพียงพอต่อการปฏิบัติศาสนกิจ พุทธคุณในปฏิบัติการ “เณรแชมป์” จึงได้ฉายาว่า ครูบา ปว้าผาโด้ (มหาป่าพัฒนา)....นักบุญแห่งขุนเขาชนเผ่าปกากะญอ
พญาวัน ณ วัดสันกู่....คนดอยแม้จะเป็นชนกลุ่มน้อยแต่ยิ่งใหญ่ด้วยศรัทธา จะหลั่งไหลลงมาร่วมกิจกุศลกับ นักบุญแห่งขุนเขา ด้วยความบริสุทธิ์ใจ....!!

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น